วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

I attended the 16 / 25 September 56 ( บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 16 / 25 ก.ย. 56 )

Teaching and learning activities ( กิจกรรมการเรียน การสอน )

                วันนี้อาจารย์ให้สรุปความคิดรวบยอดโดยการสรุปต้องสรุปออกมาเป็น My mapping






I attended the 15 / 18 September 56 ( บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 15 / 18 ก.ย. 56 )

Teaching and learning activities ( กิจกรรมการเรียน การสอน )

วันนี้การเรียนในห้องเรียนคือ  การทำไข่ตุ๋น



วัสดุ
   ไข่ไก่        ผงปรุงรส                 แครอท       มะเขือเทศ    
   ซีอิ๊วขาว     เนื้อไก่ หรือเนื้อหมู     เห็ดหอม      ผักชี            น้ำเปล่า

อุปกรณ์     
     มีด       เขียง     ถ้วย    หม้อนึ่ง    ช้อน    ที่ตีไข่

วิธีทําไข่ตุ๋นมีดังนี้
      1. ตอกไข่ใส่ชาม ตีไข่โดยใช้ตะเกียบคนจากซ้ายไปขวา หรือ บนลงล่างเท่านั้น
      2. เติมอุซึคุจิโชยุ หรือ ซีอิ๊วขาวลงไป สีของไข่จะออกคล้ำขึ้นเล็กน้อย
      3. ใส่ผงปรุงรสที่ละลายน้ำแล้วลงไปคนให้เข้ากัน
      4. ขั้นตอนสำคัญ คือต้องกรองไข่ที่ตีแล้วด้วยกระชอนตาถี่ หรือผ้าขาวบางก็ได้ลงในกะมังอีกใบหนึ่งเศษไข่ขาวที่ติดในกระชอนทิ้งไปได้เลย
      5. เปิดแก็ส ตั้งลังนึ่ง ใส่น้ำ และเปิดไฟแรงจัด
      6. แบ่งเครื่องปรุงต่างๆ พวกเนื้อไก่, เห็ดหอม, แปะก๊วย,เนื้อปลา,ลูกชิ้นปลา,ผักชี ใส่ถ้วยทั้ง 4ถ้วยให้เรียบร้อย
      7. เอาไข่ที่เราเตรียมไว้แล้วแบ่งใส่ถ้วยให้เท่าๆกัน ปิดด้วยฟอยล์เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหยดลงบนไข่ตุ๋น
      8. เมื่อน้ำที่เราตั้งไว้เดือดเรียบร้อยแล้วให้หรี่ไฟให้อ่อนที่สุด แล้วนำไข่ตุ๋นที่ใส่ถ้วยเตรียมไว้ไปใส่ในลังนึ่งนึ่งไปสักประมาณ 15 นาทีก็เป็นอันเสร็จพิธี ก็จะได้ไข่ตุ๋นโอชินที่มีเนื้อเนียนน่ารับประทาน
ข้อควรระวัง: อย่าใช้ช้อนส้อมคนไข่มากเกินไปจนเกิดฟอง, อย่าลืมกรองไข่ก่อนนำไข่ไปตุ๋น และ อย่าเปิดไฟแรงเกินไป มิฉะนั้นไข่ตุ๋นจะหน้าไม่เนียน

I attended 15 September 56 ( บันทึกการเข้าเรียน 15 ก.ย. 56 )

Teaching and learning activities ( กิจกรรมการเรียน การสอน )

การเรียนชดเชย
อาจารย์ได้ให้คำแนะนำในการปรับปรุงแก้ไข blogger ของนักศึกษาแต่ละคน
อาจารย์ให้นักศึกษา ทำกิจกรรมกลุ่ม  "เขียนแผนการสอนวิทยาศาสตร์ในการทำอาหารสำหรับเด็ก"
อาจารย์ให้นักศึกษาเดินมาหยิบกระดาษชาร์ตกลุ่มละ 4แผ่น และสีเมจิกลุ่มละ 4 อัน
อาจารย์บอกว่าวันนี้เราจะมาเรียนในเรื่องการทำอาหารที่เหมาะสำหรับเด็ก
อาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าอาหารอะไรที่เหมาะสำหรับเด็ก บ้างให้เขียนลงในกระดาษ      ชาร์ตที่อาจารย์ได้แจก และให้นักศึกษาแตกแมทออกไป

ความรู้ที่ได้รับ
          1.  การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ในสิ่งที่เด็กอยากรู้
          2.  ได้รับฟังและแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนกลุ่มอื่นๆ
การนำไปประยุกต์ใช้
          1.  การจัดประสบการณ์การทำอาหารให้กับเด็กปฐมวัย
          2.  การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ไว้ล่วงหน้าก่อนการสอนจะเป็นผลดีแก่ครูและนักเรียน

I attended the 14 / 11 September 56 ( บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 14 / 11 ก.ย. 56 )

Teaching and learning activities ( กิจกรรมการเรียน การสอน )


 ***ไม่มีการเรียนการสอนอาจารย์จะสอนชดเชยในวันที่ 15 กันยายน 2556

I attended the 13 / 4 September 56 ( บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 13 / 4 ก.ย. 56 )

Teaching and learning activities ( กิจกรรมการเรียน การสอน )

 
***ไมมีการเรียนการสอนแต่อาจารย์จะชดเชยให้ในวันที่  15 กันยายน 2556

วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

I attended the 12 / 28 August 56 ( บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 12 / 28 ส.ค. 56 )

Teaching and learning activities ( กิจกรรมการเรียน การสอน )

 
ศึกษาดูงานที่  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา  
และ
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์
 


โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
                  เป็นหน่วยงานสังกัดคณะครุศาสตร์ เดิมมีสภาพเป็นศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย ใช้ชื่อ “ ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยสิงหราช” ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2530 มีอาคารสิงหราช (เดิมเป็นหอพักนักศึกษา) เป็นอาคารเรียนเปิดสอนระดับอนุบาล
                  พ.ศ. 2536 ได้เปลี่ยนสถานภาพเป็น “ โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูนครราชสีมา” เปิดสอนระดับบริบาลและอนุบาล
                  พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูนครราชสีมาได้รับการยกฐานะ เป็นสถาบันราชภัฏนครราชสีมา โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูนครราชสีมา จึงมีชื่อใหม่ว่า “ โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏนครราชสีมา”
                  พ.ศ. 2547 สถาบันราชภัฏนครราชสีมา ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏนครราชสีมา จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา”
                  พ.ศ. 2548 โรงเรียนสาธิตฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงาน รับรองมาตรฐานการศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบที่ 1 โดยมีการประเมิน 3 ด้าน คือ ด้านผู้บริหาร ด้านครู และด้านผู้เรียน
                  พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยมีนโยบายขยายการเปิดชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 และลำดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2,3,4,5 และ 6 ในปีต่อ ๆ ไป
                  พ.ศ. 2551 โรงเรียนสาธิตฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา จากสำนักงานรับรองมาตรฐานการศึกษา และประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบที่ 2 โดยมีการประเมิน 3 ด้าน คือ ด้านผู้บริหาร ด้านครู และด้านผู้เรียน
 
 
 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
                   หรือ "โรงเรียนนอกกะลา" เป็นโรงเรียนเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร ในสังกัดของ กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตั้งอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์
                  ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา โดยการ ได้เปิดทำการเรียนการ สอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546 จำนวน 3 ชั้นเรียน ได้แก่ ชั้นอนุบาล 1 ชั้นอนุบาล 2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้คัดเลือกเด็กจากเด็กทั่วไปโดยวิธีจับฉลาก นักเรียนที่เข้าเรียนไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน
                  ข้อพิจารณาที่สำคัญคือ ผู้ปกครองต้องพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับโรงเรียนฯ ในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ ปัจจุบันมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา] เป็นผู้ถือใบอนุญาตโรงเรียนฯ และเปิดทำการเรียนการสอนครบ 11 ชั้นเรียน คือ ชั้นอนุบาล 1–2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาโดยมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา เป็นโรงเรียนเอกชนที่ไม่เก็บค่าเล่าเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่าง เริ่มดำเนินการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 ถึงปัจจุบัน ในระดับชั้นอนุบาลประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนทั้งหมด 240 คน มีครู 30 คน รับนักเรียนโดยการจับฉลาก โรงเรียนฯ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 50.2 ไร่ ในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเงินของมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา สร้างเสร็จและเปิดทำการเรียนการสอนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546
                 ตั้งแต่เริ่มต้น นายเจมส์ คลาร์ก เป็นผู้สนับสนุนในเรื่องการลงทุนก่อสร้างโรงเรียน และสิ่งสนับสนุนทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว เป็นจำนวนเงินประมาณ 52.5 ล้านบาท นอกจากนั้น นายเจมส์ คลาร์ก ยังสนับสนุนในเรื่องค่าใช้จ่ายดำเนินการของโรงเรียนทั้งหมด ตั้งแต่ ปี 2546 - 2553 เป็นเงิน 52.5 ล้านบาท รวมเป็นเงินที่ นายเจมส์ คลาร์ก สนับสนุนโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาถึงปัจจุบันเป็นเงินทั้งสิ้น 105 ล้านบาท
 

 

I attended the 11 / 21 August 56 ( บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 11 / 21 ส.ค. 56 )

Teaching and learning activities ( กิจกรรมการเรียน การสอน )


**ไม่มีการเรียนนการสอน**
                - มอบหมายงานให้ไปหาข้อมูลที่เราจะไปศึกษาดูงาน และเตรียมตัวตามหน้าที่ขอตนเองที่ได้
มอบหมาย

               
               - ให้นักศึกษาประดิษฐ์ ของเล่นวิทยาศาตร์และการทดลองวิทยาศาตร์
 

 


I attended the 10 / 14 August 56 ( บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 10 / 14 ส.ค. 56 )

Teaching and learning activities ( กิจกรรมการเรียน การสอน )

 
                  1. นัดหมายการไปศึกษาดูงาน ที่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และโรงเรียนลำปลาบมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ ในวันที่ 27 - 28 สิงหาคม 2556 

                2.แบ่งหน้าที่การรับผิดชอบของแต่ล่ะคน         โดยประกอบด้วย
                                  1. ฝ่ายการประสานงาน   7  คน
                                  2. ฝ่ายประชาสัมพัธ์      5  คน
                                  3. ฝ่ายประเมินผล   7  คน
                                  4. ฝ่ายงบประมาณ     4  คน
                                  5. ฝ่ายลงทะเบียน    6  คน
                                  6. ฝ่ายสวัสดิการ     7  คน   ( กลุ่มของดิฉันรับผิดชอบในฝ่ายนี้
                                  7. ฝ่ายพิธีการ กล่าวขอบคุณ     6 คน
                                          7.1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
                                           7.2 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

                  3. ตรวจบล็อก พร้อมให้คำแนะนำ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์

                 4. มอบหมายหน้าที่ในการไปศึกษาดูงาน

              งานของฝ่ายสวัสดิการ  มีดังนี้    เตรียมขนม  เตรียมน้ำ  เตรียมถุงดำในการใส่ขยะ   เตรียมน้ำแข็ง  เตรียมกระดิกเพื่อใส่น้ำแข็ง  แล้วนำไปบริการให้เพื่อนๆ ได้ ทานกันในขณะที่กำลังเดินทาง

I attended the 9 / 7 August 56 ( บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 9 / 7 ส.ค. 56 )

Teaching and learning activities  ( กิจกรรมการเรียน การสอน ) 

     
ร่วมเข้ารับการอบรม โครงการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม
( โครการของ อาจารย์  ณุตรา  พงษ์สุผล )